ขยะเศษอาหาร” โดยส่วนใหญ่มาจากส่วนที่เหลือทิ้งจากการรับประทานอาหาร ประกอบไปด้วย เนื้อสัตว์ ข้าว ผลไม้ และผัก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลายเน่าเปื่อยได้ง่าย มีความชื้นสูง และ หากทิ้งไว้นานจะส่งกลิ่นเหม็นได้รวดเร็ว สำหรับการทดลองนี้ได้ใช้เศษอาหารของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเศษอาหารเหลือวันละประมาณ 58 กิโลกรัม องค์ประกอบโดยส่วนใหญ่ คือ ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ตามลำดับ มีค่าความชื้นทั้งหมดเฉลี่ย 74.21 เปอร์เซ็นต์ และ ค่าของแข็งทั้งหมดเฉลี่ย 25.79 เปอร์เซ็นต์
ส่วนก๊าซชีวภาพ (Biogas) นั้นเป็นก๊าซที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนโดยจุลินทรีย์ ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในที่ลุ่ม ชื้นแฉะ ในที่ลึกลงไปใต้ผิวดิน ก้นทะเลสาป ในบ่อบำบัดน้ำเสีย ในกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้อง และในหลุมขยะฝังกลบ เป็นต้น พลังงานของก๊าซชีวภาพ 1 ลูกบาศก์เมตร เทียบเท่า กับ ก๊าซหุงต้ม (LPG) 0.46 กิโลกรัมน้ำมันเบนซิน 0.67 ลิตร น้ำมันดีเซล 0.60 ลิตร หรือฟืนไม้ 1.50 กิโลกรัม
การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารสามารถทำได้โดยการย่อยสลายในถังหมักแบบต่อเนื่องสองขั้นตอนภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน ถังใบแรกมีปริมาตร 27.7 ลิตร และใบที่สองมีปริมาตร 52.8 ลิตร
ดำเนินระบบโดยการเติมสารละลายเศษอาหารที่มีค่า ของแข็งทั้งหมด 4 % (w/v) ที่ระยะเวลาเก็บกัก 35 30 25 และ20 วัน คิดเป็นอัตราการป้อนสารอินทรีย์เท่ากับ 5.77 6.39 8.3 และ 10.27 กรัม ซีโอดี/ลิตร.วัน ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าที่ระยะเวลาเก็บกัก 35 วันระบบสามารถลดปริมาณความสกปรก คิดเป็นค่า ซีโอดี ได้สูงสุด ถึง 90.1% และผลิตก๊าซชีวภาพโดยรวมเท่ากับ 31.2 ลิตร/วัน มีสัดส่วนมีเทน 57.3 % ของปริมาณก๊าซทั้งหมดแข็งทั้งหมดลดลง 84.3% ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณของแข็งระเหยทั้งหมดที่ลดลง 89.3%และที่ระยะเวลาเก็บกัก 20 วัน สามารลดความสกปรกค่าซีโอดีได้ 82.1% แต่ผลิตก๊าซชีวภาพได้สูงถึง 54.4 ลิตรต่อวัน และมีความเข้มข้นของมีเทน เท่ากับ 61.3%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น