ภาพสไลด์

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชากรและทรัพยากรโลก

จากผลจากการสำรวจประชากรของโลกในปี 2006 พบว่ามีประชากรประมาณกว่า 6.5 พันล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2005 ประมาณ 82 ล้านคน และช่วงปี 2005 มีประชากรเพิ่มขึ้นจากปี 2004 ประมาณ 81 ล้านคน ซึ่งจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มจำนวนจะเพิ่มขึ้นทุกปีทั่วโลกในอัตราการเพิ่มประชากรที่ชะลอตัว ล่าสุด ณ ตอนที่เขียนนี้ มีประชากรโลกประมาณ 6,917 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ล้านคน ในปี 2024 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านคนในปี 2050 (ประมาณการของพวกเขานะ)ตามกราฟข้างล่างนี้




อันนี้ก็เป็นตัวเลขการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในโลกของเราในช่วงศตวรรษนี้(1950-2050)ที่ตัวเลขก็น่าจะใกล้เคียงความเป็นจริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเพิ่มและลดของประชากรในแต่ละโซนแต่ละทวีปก็จะแตกต่างกันออกไป ประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราการเพิ่มของประชากรก็จะน้อยหรืออยู่ในระดับคงตัวเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไม่มากนัก อัตราการเจริญเติบโตของประชากรก็ประมาณรูปด้านล่างนี้




ซึ่งการประมาณการประชากรโลกในอนาคตของสหประชาชาติก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้งเพราะสมมติฐานมีความแตกต่างกัน ที่มาของตรงนี้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/World_population สนใจดูเพิ่มเติมได้

แล้วทีนี้การเพิ่มจำนวนของประชากร มันก็ไปส่งผลทำให้เกิด การเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อม ความหิวโหย ความยากจนและปัญหาสุขภาพก็จะกลายมาเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น อาหารก็ต้องการมากขึ้นเพื่อเพียงพอต่อประชากรที่มากขึ้น แหล่งที่อยู่อาศัยก็ขยายตัวมากขึ้น แหล่งที่ทำกินเพาะปลูกพืชก็ต้องหาเพิ่มขึ้น แหล่งเดิมก็เสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ แห้งแล้ง ก็ไปทำไร่เลื่อนลอย บุกรุกทำลายป่า ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาการจากความขาดความรู้ มักง่าย และเห็นแก่ตัว
ถึงแม้ว่าประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ก็ไม่ได้แปลว่าทุกประเทศมีอัตราการเพิ่มประชากรสูงเสมอไป ประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมไปถึงประเทศอุตสาหกรรม เช่น อเมริกา, แคนาดา, ญี่ปุ่น,และประเทศในแถบยุโรปมีอัตราการเติบโตของประชากรที่ต่ำ ประเทศที่ยังด้อยการพัฒนา เป็นประเทศที่ไม่ค่อยจะมีอุตสาหกรรมมากนักอย่างเช่น ลาว,บังคลาเทศ,ไนจีเรียและเอธิโอเปียที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรสูง ประเทศที่พัฒนาแล้วพอสมควรเช่นเม็กซิโก, ตุรกี,ประเทศไทยและภาคใต้ส่วนใหญ่ประเทศอเมริกาตะวันตกตรงกลางที่มีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่มีสูงกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็ต่ำกว่าในประเทศที่ด้อยพัฒนา
ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของประชากรตามธรรมชาติ การบริโภคทรัพยากรและการเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อมนั้นมีความซับซ้อน แต่ก็มีสองลักษณะที่มีประโยชน์ คือ

1 ในหลายๆประเทศที่ด้อยการพัฒนาและประเทศที่การพัฒนาอยู่ในระดับปานกลางมีการใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นส่วนน้อยอยู่ อย่างไรก็ตามจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้คนมีแนวโน้มที่จะครอบงำและทำให้ทรัพยากรประเทศเหล่านี้หมดสิ้นลงไปเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็น ดิน ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
2 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทรัพยากรบุคคลนั้นเป็นที่ต้องการอย่างมากและยังมีความต้องการเหนือความต้องการขั้นพื้นฐานขึ้นไปอีกทั้งนี้เพื่อความอยู่รอด เพื่อตอบสนองความใคร่ของพวกเขาที่ค่อนข้างเกินกว่าความต้องการขั้นพื้นฐาน หลายประเทศที่ผู้คนมีฐานะความเป็นอยู่ดีก็จะปล่อยของเสียจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกโดยผ่านการบริโภคใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือยและการดำเนินชีวิตเหมือน”ใบปลิว” คือใช้ทรัพยากรอย่างไม่รู้ค่า ไม่สนใจต้นสายปลายทางมากนัก ได้ประโยชน์บ้างไม่ได้บ้างโดยไม่คำนึงใส่ใจอะไรมากนัก ถ้าจะมองเด็กคนหนึ่งที่เกิดในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐเพียงแค่คนเดียวมีการบริโภคกินใช้สอยทรัพยากรหมดเปลืองไปนั้นอาจจะเท่ากับหรือมากกว่าเด็กที่เกิดในประเทศด้อยพัฒนาอย่างเช่นไนจีเรียถึงสิบสองคนเลยทีเดียว นี่ก็พอมองเห็นภาพอนาคตได้ไม่มากก็น้อย
ดังนั้นการบริโภคอย่างอยู่ดีกินดีที่ดูจะไม่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีในโลกโดยเฉพาะของประเทศที่เรียกตัวเองว่าประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยเราก็เหมือนกันล้วนแล้วอย่างมากกับการสูบ การถลุงทรัพยากรทั้งจากบนบก ใต้ดินและในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบ แร่ธาตุต่างๆ ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ สัตว์ทะเล อะไรต่างๆมากมาย ล้วนแล้วแต่ประเทศเหล่านี้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว นั้นได้เป็นผู้ผลาญทรัพยากรได้อย่างน่าใจหายมากกว่าประเทศใครเพื่อน ทั้งทรัยากรประเทศตัวเองและก็ตะเวนล่าหาทรัพยากรของประเทศอื่นอีกด้วย จะเห็นได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่คนเกิดมาเพื่อจะเอาอะไรจากโลกมากเกินไป โดยไม่คิดว่าคนรุ่นต่อไปเขาจะอยู่อย่างไร และเขาจะคิดอย่างไร ที่คนบรรพบุรุษรุ่นก่อนหน้าเขาใช้ทรัพยากรเปลืองจนแทบไม่เหลือทรัพยากรอะไรไว้ให้เขาบ้างเลย
ในอนาคตอีกสิบปี ยีสิบปี สามสิบข้างหน้าทั้งคนทั้งโลกน่าเป็นห่วงมากเพราะความไม่พอดี ความไม่สมดุลของธรรมชาติมันมากขึ้น คนมากขึ้นแต่ทรัพยากรมีน้อยลง อาหารขาดแคลน ข้าวของแพง เกิดจราจล แก่งแย่งเบียดเบียนกัน เพื่อได้ปัจจัยพื้นฐานมาไว้ในครอบครอง เพื่อความอยู่รอด ถ้าเริ่มเป็นในลักษะนี้ นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการล้มสลายของระบบทุนนิยมบริโภคนิยม ซึ่งเรื่องอนาคตนั้นคาดเดาได้ยากมากเพราะมีตัวแปรอะไรหลายๆอย่างที่มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งจิตใจคน ดินฟ้าอากาศของโลก ล้วนแล้วแต่ไม่เคยหยุดนิ่ง พอดี สมดุลอะไรบ้างเลย อะไรก็ไม่แน่ทั้งนั้น (แต่เกิดมาตายแน่ๆ)
คนเราก็ตัวแค่นี้ กินก็พอแค่อิ่ม หิวก็หา สะสมก็เพียงแต่พอเพื่อความเป็นอยู่ของชีวิตนี้ ประโยชน์แท้ของการเกิดมานั้นเพื่ออะไรกันแน่ กระแสหลักของโลกไหลไปไหน จำเป็นไหมที่เราต้องไหลตามกระแส ถามตัวเองสิ ความสุขมันมีแค่การบำรุง ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสให้ได้เวทนาอันชอบใจมากๆเท่านั้นหรือ หรือว่าตัณหาความอยากลากจูงไป มองไม่เป็น ก็ไม่เห็นความจริง ก็เลยทำในสิ่งที่ตนหลง และก็เพลินไป บางครั้งก็เบียดเบียนตัวเองบ้าง เบียดเบียนสังคม เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมธรรมชาติบ้าง โลกเราก็เป็นอยู่แค่นี้ โลกของคนมีกิเลส จะหาสุขแท้ได้จากที่ไหน ถ้ายังไม่เริ่มพัฒนาที่ความคิดจิตใจ โลกคือใจนี้ก็คงยังต้องทุกข์ อีกนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น